จังหวะในเพลงไทยเดิม แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด คือ
๑ .จังหวะสามัญ
หมายถึง จังหวะอย่างสม่ำเสมอที่จะต้องยึดถือเป็นหลักในการขับร้องและบรรเลง แม้ว่าจะ ไม่มีสิ่งใดเป็นเครื่องให้สัญญาณจังหวะ ก็จะต้องมีจังหวะอยู่ในความรู้สึกตลอดเวลา

.จังหวะฉิ่ง ใช้พื้นฐานเดียวกับจังหวะสามัญ เป็นการแบ่งจังหวะด้วยฉิ่ง โดยปกติจะตีสลับกัน เป็น ฉิ่ง - ฉับ แต่ใช้เสียงฉิ่งกำหนดเสียงแทนการเคาะหรือตบมือ เพื่อให้ทราบว่ากำลังบรรเลงในอัตราจังหวะ สามชั้น สองชั้น หรือชั้นเดียว

๓.จังหวะหน้าทับ หมายถึงการตีกลองควบคุมจังหวะ วิธีการกำกับจังหวะหน้าทับคือใช้จำนวนห้องโน้ตหรือ จำนวนบรรทัดของโน้ตหน้าทับ เป็นเกณฑ์ในการกำกับ เช่น เพลงมอญรำดาบสองชั้นใช้หน้าทับปรบไก่สองชั้น หน้าทับปรบไก่สองชั้นหนึ่งชุดเท่ากับหนึ่งบรรทัดโน้ต เพลงมอญรำดาบสองชั้นท่อนที่๑ มีสี่บรรทัดโน้ต เมื่อบรรเลงพร้อมกัน กลองต้องตีหน้าทับปรบไก่สี่ชุด จึงจะพอดีกับเพลงมอญรำดาบสองชั้นท่อนที่๑ ถ้าตีพร้อมกันแล้วทำนองเพลงจบก่อนแสดงว่าเพลงไม่ครบทำนองที่ผู้ประพันธ์เพลงกำหนดไว้

จังหวะฉิ่ง

 

จังหวะหน้าทับ (กลองแขก – โทนรำมะนา) ที่นักเรียนใช้กำกับจังหวะบทเพลงต่างๆ ในหลักสูตรวิชาดนตรีไทย โรงเรียนอำนวยศิลป์

จังหวะกลอง

       

ปรบไก่

 

สองไม้ลาว




ลองทำแบบทดสอบ ก่อนสอบจริง
ทดสอบที่ ๑
ทดสอบที่ ๒