เครื่องดนตรีพื้นเมืองเหนือ
๑ ประเภทเครื่องดีด


พิณเพี้ยะหรือพิณเปี้ยะ มีลักษณะคล้ายพิณน้ำเต้า แต่มีสาย เพิ่มขึ้น เป็น ๒-๗ สายกะโหลกทำจากกะลามะพร้าว เวลาดีดจะต้องเอากะโหลกมาประกบแนบหน้าอก ขยับกะโหลกให้เปิดและปิดกับหน้าอกผู้บรรเลง



ซึง เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านล้านนา ประเภทเครื่องดีด ในท้องถิ่นจังหวัดแพร่และน่าน เรียกว่า พิณ (ออกเสียง ปิน) มีสายโลหะ ๔ สาย ตั้งเสียงที่สายเป็น ๑ คู่ต่อ ๑ เสียง ใช้เขาสัตว์หรือพลาสติกแข็งพอเหมาะมาทำเป็นไม้ดีด ซึง แบ่งตามลักษณะการตั้งเสียงได้ ๒ ประเภท คือ   ๑ ซึงลูกสาม ๒ ซึงลูกสี่

๒ ประเภทเครื่องสี

สะล้อ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี มีลักษณะคล้าย ซออู้ ของวงเครื่องสายไทย ต่างกันตรง คันชักจะอยู่นอกสายสะล้อ สะล้อ มี ๓ ขนาด
    ๑.สะล้อใหญ่ มีสามสาย ตั้งคู่สี่ และคู่สาม ร่วมกัน หากเทียบกับเสียบงดนตรีสากลคือ โด ซอล โด
    ๒.สะล้อกลาง มีสองสายตั้งเสียงคู่สี่ เทียบกัยเสียงดนตรีสากลสายเอกคือเสียง โด สายทุ้มคือเสียงซอล
    ๓.สะล้อเล็ก มีสองสาย ตั้งเสียงคู่สาม เทียบกับเสียงดนตรีสากล สายเอกคือเสียงซอล สายทุ้มคือเสียงโด
๓ ประเภทเครื่องตี

กลองเต่งถิ้ง เป็นกลองสองหน้า ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้แดง หรือไม้ เนื้ออ่อน เช่น ไม้ขนุน หน้ากลอง ขึงด้วยหนังวัว มีขาตั้งสำหรับใช้วางตัวกลอง ใช้ประสมกับเครื่องดนตรี อื่น ๆ เพื่อเป็นเครื่องประกอบจังหวะ


กลอง ตะหลดปด หรือมะหลดปด เป็นกลองสองหน้า ขนาดยาวประมาณ ๑๐๐ เซนติเมตร หน้ากลองขึงด้วยหนัง โยงเร่งเสียงด้วยเชือกหนัง หน้าด้านกว้างขนาด ๓๐ เซนติเมตร ด้านแคบขนาด ๒๐ เซนติเมตร หุ่นกลองทำ ด้วยไม้ ตีด้วยไม้หุ้มนวม มีขี้จ่า (ข้าวสุกบดผสมขี้เถ้า)ถ่วงหน้า

กลองติ่งโนง (กลองแอว) กลองตึ่งโนง เป็นกลอง ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวกลองจะยาว มากขนาด ๓-๔ เมตรก็มี ใช้ตีเป็น อาณัติสัญญาณประจำวัด และใช้ในกระบวนแห่กระบวนฟ้อน ต่าง ๆ ประกอบกับตะหลดปด ปี่แน ฉาบใหญ่ และฆ้องหุ่ย ใช้ตีด้วยไม้ เวลาเข้าขบวนแห่ จะมีคนหาม

กลองสะบัดชัย กลองสะบัดชัยโบราณ เป็นกลองที่ มีมานานแล้วนับหลายศตวรรษ ในสมัยก่อนใช้ ตียามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นสิริมงคล และเป็น ขวัญกำลังใจให้แก่เหล่าทหารหาญในการต่อ สู้ให้ได้ชัยชนะ ทำนองที่ใช้ในการตี กลองสะบัดชัยโบราณมี ๓ ทำนอง คือ ชัยเภรี , ชัยดิถี และชนะมาร

กลองปูชา ( ก๋องปู๋จา ) คือกลองบูชา เดิมเรียกว่ากลองนันทเภรี เป็นกลองขึ้นหนังสองหน้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่กับที่ แต่ใช้ตีหน้าเดียว มีหน้ากว้างประมาณ ๓๐ นิ้ว ขึ้นไป ปกติจะตั้งไว้ที่ศาลาไว้กลอง หรือตั้งไว้ภายในวัดประกอบด้วยกลองขนาดใหญ่ ๑ ใบ และกลองขนาดเล็ก เรียกว่า “ กลองแสะ ” หรือ “ ลูกติบ ” อีก ๒-๓ ใบ ซึ่งมีขนาดลดหลั่นกัน กลองปูชาใช้ตีเป็นพุทธบูชาในโอกาสเกี่ยวกับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา เช่น วันขึ้นหรือแรม ๗ ค่ำ และ ๑๔ ค่ำ ระหว่างเข้าพรรษา เป็นต้น บางแห่งใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเวลาด้วย เวลาตีกลองปูชาจะใช้ผู้ตี ๒ คน คนหนึ่งใช้ไม้ค้อนตี ๒ มือ ตีทั้งกลองใหญ่และกลองเล็ก เป็นทำนองต่างๆ อีกคนหนึ่งใช้ไม้แสะ (ไม้ไผ่ผ่าซีกจักปลาย) ตีขัดจังหวะกลอง ยืนทำนองไปตลอด นอกจากนี้หากเป็นการตีประกวดกัน ก็ยังมีคนตีฆ้อง โหม่ง และฉาบ ประกอบ

กลองมองเซิง รูปลักษณะคล้ายกลองปูชา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนาดหน้ากลองมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๔๕-๖๐ เซนติเมตร ด้านข้างยาวประมาณ ๗๕-๙๐ เซนติเมตร สามารถใช้สะพายตีได้ ปกติจะใช้ตีประกอบวงมองเซิงซึ่งเป็นดนตรีแบบของไทใหญ่ มีฆ้องชุดซึ่งมีขนาดและเสียงไล่ระดับกันมีสว่า (ฉาบ) ตีประกอบ
๔ ประเภทเครื่องเป่า

แนน้อย

แนหลวง
ปี่แน มีลักษณะคลายปี่ไฉน หรือปี่ชวา แต่มี ขนาดใหญ่กว่า เป็นปี่ประเภทลิ้นคู่ เลาปี่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง มีรูบังคับเสียง เช่นเดียวกับปี่ใน นิยมบรรเลงในวงประกอบกับฆ้อง กลอง ตะหลดปด และกลองแอว เช่น ในเวลาประกอบการฟ้อน เป็นต้น มี ๒ ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็กเรียก แนน้อย ขนาดใหญ่ เรียก แนหลวง


ปี่จุม เป็นปี่ลิ้นเดียว ที่ตัวลิ้นปี่ทำด้วยโลหะเหมือนลิ้นแคน ตัวปี่ทำด้วยไม้ซาง ปลายข้างหนึ่งของเลาปี่ฝังลิ้นโลหะไว้ เวลาเป่าใช้ปากอม บริเวณลิ้นปี่ปลายเลาขลุ่ย อีกด้านหนึ่งเจาะรูบังคับเสียงเรียงกัน ๖ รู เพื่อให้เกิดทำนองเพลง มี ๓ ขนาด ได้แก่ ขนาดใหญ่เรียก ปี่แม่ ขนาดรองลง มาเรียก ปี่กลาง และขนาดเล็กเรียก ปี่ก้อย นิยมบรรเลงประสมเป็นวงเรียก วงจุมปี่หรือปี่จุม หรือบรรเลงร่วมกับซึงและสะล้อ

ขลุ่ยพื้นเมืองเหนือ เป็นขลุ่ยขนาดเล็กเท่ากับขลุ่ยหลิบ ภาคกลาง นำมาใช้เล่น ประสมวงสะล้อ- ซึง