ลักษณะการประสมวงและวิธีการบรรเลงของอีสานเหนือ
วงโปงลาง

เพลงบรรเลง
วงโปงลาง เป็นวงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงล้วนๆไม่มีการขับร้อง ในสมัยก่อนเครื่องดนตรีของภาคอีสานเหนือจะไม่มีการบรรเลงเป็นวง มักเป็นการบรรเลงดนตรีเดี่ยวๆ เช่น เดี่ยวพิณ เดี่ยวแคน เดี่ยว โปงลาง แต่ปัจจุบันนิยมนำมาบรรเลงร่วมกันเป็นวง จึงเกิดวงโปงลาง โดยบรรเลงลาย(เพลง)ต่างๆ เช่น ลายแม่ฮ้างกล่อมลูก ลายโปงลาง ลายลมพัดไผ่ ลายกาเต้นก้อน ฯลฯ
หมอลำ
เพลงร้อง
หมอลำ หมายถึงการขับร้องโดยมีการบรรเลงดนตรีประกอบ ซึ่งชาวอีสานเรียกการร้องเพลงว่า ลำ ผู้ขับร้องเรียกว่า หมอลำ พัฒนาการของหมอลำเป็นไปอย่างไม่หยุดยั้งจากการลำเดี่ยว เป็นลำคู่ ลำหมู่ (หลายคน) มีดนตรีสากลเข้ามาเสริมให้เกิดความคึกคักกลายเป็นลำเพลิน และลำซิ่งในที่สุด

  ลักษณะการประสมวงและวิธีการบรรเลงของอีสานใต้
วงตุ้มโมง


วงตุ้มโมง ประกอบด้วย ฆ้องหุ่ย ๑ใบ กลองเพลขนาดใหญ่ ๑ ใบ ปี่ไสน ๑ เลา ฆ้องราว๑ ราง

วงกันตรึม

วงกันตรึม ประกอบด้วย กลองกันตรึม ๒ ใบ ,ตรัวจ์ ๑ คัน(ซอกันตรึม),ปี่อ้อ ๑ เลา, ฉิ่ง ๑ คู่, ฉาบ ๑ คู่ ,กรับ๑ คู่



วงมโหรีอีสาน

วงมโหรี ประกอบด้วย ตรัว เอก ๑-๒ คัน ซอตรัวอู ๑-๒ คัน ระนาดเอก ๑ ราง จับเปย (กระจับปี่)
๑ ตัว ปี่ไสน ๑ เลา กลองกันตรึม ๒ ใบ ฉิ่ง ฉาบ และกรับ อย่างละ ๑
คู่

วงดนตรีประกอบเรือมมม็วต


วงดนตรี ประกอบเรือมมม็วต

( เป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวสุรินทร์ ซึ่งมีความเชื่อแต่โบราณว่า "เรือมมม็วต " จะช่วยให้คนกำลังเจ็บไข้ได้ป่วยมีอาการ ทุเลาลง)

วงใหญ่ประกอบด้วย เจรียง ( นักร้อง) ซอ ๑ คัน ปี่อ้อ ๑ เลา ปี่ ไสน ๑ เลา กลองกันตรึม ๒ ใบ กลองตะโพน ๑ ใบ ฉิ่งและกรับอย่างละ ๑ คู่
วงเล็ก ประกอบด้วย ซอ ๑ คัน ปี่อ้อ ๑ เลา กลองกันตรึม ๒ ใบ เจรียง ( นักร้อง) ๑ คน (คนตีกลองทำหน้าที่เป็นนักร้องด้วย)

การแสดงเรือมอันเร
พิธีไหว้ครูเรือมอันเร
วงดนตีประกอบเรือมอันเร
( เรือม แปลว่า "รำ" อันเร แปลว่า "สาก" ดังนั้น เรือมอันเรจึงแปลว่า การรำสาก การเรือมอันเรนั้นจะเล่นกันในช่วงของวันหยุดสงกรานต์โดยชาวบ้านจะเล่นเรือมอันเรที่ลานบ้านหรือว่าลานวัด )

ตรัวจ์ ๑ คัน ปี่ ไสน ๑ เลา กลองกันตรึม ๒ ใบ ฉิ่ง , ฉาบ และกรับอย่างละ ๑ คู่