การประสม(ผสม) วงดนตรีไทย


เครื่องดนตรีหรือเครื่อง ดีด สี ตี เป่า ของไทยที่นิยมเล่นกันมาแต่โบราณนั้น บางชนิดใช้บรรเลงเดี่ยว (คือบรรเลงคนเดียว) เช่น ซอและขลุ่ย และอีกหลายประเภทมีการประสมเป็นวงอยู่แล้ว แต่ยังไม่มี หลักเกณฑ์ที่ ลงตัว ต่อมาการประสมวงมีการพัฒนาขึ้น หลักสำคัญอยู่ที่การเลือกประเภทเครื่องดนตรี และเสียงของเครื่อง ดนตรีแต่ละชิ้น ให้มีเสียงประสานกลมกลืนกันให้เกิดเป็นเสียงดนตรีที่ไพเราะการประสมวงของดนตรีไทยมีดังต่อไปนี้
๑ วงเครื่องสาย หมายถึง  วงดนตรีที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก โดยมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าและเครื่องกำกับจังหวะเป็นส่วนประกอบ
ประเภทของวงเครื่องสาย
๑.  วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว (ใช้งานมงคล)
๒.วงเครื่องสายเครื่องคู่ (ใช้งานมงคล)
๓.วงเครื่องสายผสม (ผสมเครื่องดนตรีชาติอื่น) (ใช้งานมงคล)
๔.วงเครื่องสายปี่ชวา (ใช้งานอวมงคล)

วงเครื่องสายที่ใช้ในงานมงคล
๑ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว



* กำหนดให้ซอด้วงอยู่ฝั่งขวามือเป็นหลัก (กรณีตั้งวงจริง)ส่วนเครื่องดนตรีชิ้นอื่นๆ จัดตำแหน่งตามรูป *
(ย้อนกลับ)
๒ วงเครื่องสายเครื่องคู่




 
วงเครื่องสายเครื่องคู่ เพลงสุรินทราหูสามชั้น
วงเครื่องสาย ใช้ในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน ทำบุญบ้าน ทำบุญครบรอบวันเกิด งานเลี้ยงรับรอง งานมงคลต่างๆที่เน้นฟังไพเราะ เบาๆ ไม่เสียงดังใช้ พื้นที่ตั้งวงไม่กว้าง(งานภายในบ้าน) ต้องเลือกชนิดวงเครื่องสายให้เหมาะสมกับพื้นที่จัดงาน (ย้อนกลับ)

๓.วงเครื่องสายผสม (ผสมเครื่องดนตรีชาติอื่น)

ตั้งแต่ในรัชกาลที่ ๖ มา เมื่อมีผู้นำขิมบ้าง ไวโอลินบ้าง ออร์แกน และเครื่องอื่นๆ บ้าง เข้าเล่นผสมวง จึงเรียกกันว่าเครื่องสายผสมขิม เครื่องสายผสมไวโอลิน เครื่องสายผสมออร์แกน และเมื่อผสมเครื่องดนตรีหลายอย่าง ก็เรียกกันกว้างๆว่า "วงเครื่องสายผสม"

เครื่องสายผสมขิม

 
วงเครื่องสายผสมขิมเพลง ลาวสวยรวย สามชั้น
วงเครื่องสายที่ใช้ในงานอวมงคล

๔ วงเครื่องสายปี่ชวา

เครื่องสายปี่ชวาเกิดขึ้นในราวปลายรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นวงดนตรีไทยที่เกิดจากการผสมเครื่องดนตรีของวงดนตรีไทย ๒ประเภทเข้าด้วยกัน คือ วงเครื่องสายและวงปี่ชวากลองแขก แล้วตัดเครื่องดนตรีที่เสียงซ้ำกันออก คือ ขลุ่ยเพียงออ และโทนรำมะนาในวงเครื่องสาย เครื่องประกอบจังหวะเหลือเพียงชุดเดียว ดังนั้นวงเครื่องสายปี่ชวาจึงประกอบด้วย ปี่ชวา ซอด้วง ซออู้ จะเข้ ขลุ่ยหลิบ กลองแขก และฉิ่ง
เนื่องจากปี่ชวามีช่วงเสียงที่สูงไปกว่าเครื่องสาย เพลงที่บรรเลงด้วยวงเครื่องสายปี่ชวาจะมีระดับเสียงเฉพาะของตนเอง คือ สูงกว่าระดับเสียงเพลงของวงเครื่องสาย ๔ เสียง ดังนั้นซอด้วงจึงต้องขึ้นสายใหม่ให้เทียบได้กับเสียงของปี่ชวา เครื่องดนตรีอื่นๆ ก็ต้องเปลี่ยนระดับเสียงให้ขึ้นไปเท่ากับเสียงของปี่ชวานอกจากระดับเสียงที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว เพลงที่บรรเลงด้วยวงเครื่องสายปี่ชวาก็เป็นเพลงเฉพาะของวงประเภทนี้เท่านั้น เช่นเพลงโหมโรงราโค ซึ่งตอนท้ายเพลงออกเพลงสระหม่า นอกจากนี้แต่ละเพลงมักมีจังหวะที่รวดเร็วตามลักษณะการบรรเลงของปี่ชวา นักดนตรีคนอื่นๆ ก็ต้องสามารถบรรเลงเครื่องดนตรีของตนได้อย่างรวดเร็วหรือในวงการดนตรีไทยเรียกว่า “ ไหว ” ปัจจุบันหานักดนตรีที่บรรเลงเพลงได้ในวงเครื่องสายปี่ชวายากเต็มที เนื่องจากสาเหตุสำคัญคือ ” ไม่ได้เพลงที่ใช้บรรเลง”

วงเครื่องสายปี่ชวาเครื่องเดี่ยว
วงเครื่องสายปี่ชวาเครื่องเดี่ยว

 
วงเครื่องสายปี่ชวา เพลงโหมโรงราโค