ข้อใดคือลักษณะการบรรเลงเพลงไทยเดิม
- ขับร้องสลับบรรเลง
- ขับร้องพร้อมบรรเลง
- บรรเลงอย่างเดี่ยว
- ถูกทุกข้อ
บทเพลงที่ไม่มีการขับร้องเรียกว่า
- เพลงบรรเลงล้วน
- เพลงขับร้อง
- เพลงขับร้องประกอบการบรรเลง
- ถูกทุกข้อ
เพลงบรรเลงล้วน มีลักษณะเป็นอย่างไร
- เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงล้วนๆ
- เพลงที่ขับร้องสลับบรรเลง
- เพลงที่ขับร้องอย่างเดียว
- ถูกทุกข้อ
ข้อใดไม่ใช่ประเภทของเพลงบรรเลง
- เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ บรรเลงอย่างเดียว
- เพลงเรื่อง เพลงหางเครื่อง บรรเลงอย่างเดียว
- เพลงลูกบท และเพลงภาษา บรรเลงอย่างเดียว
- เพลง เถา เพลงตับ บรรเลงสลับขับร้อง
บทเพลงที่มีการขับร้องสลับดนตรีที่บรรเลงเรียกว่า
- เพลงบรรเลงล้วน
- เพลงขับร้อง
- เพลงขับร้องประกอบการบรรเลง
- ถูกทุกข้อ
เพลงรับร้องมีความหมายว่าอย่างไร
- เพลงบรรเลงล้วน
- เพลงร้อง
- เพลงขับร้องประกอบการบรรเลง
- ถูกทุกข้อ
ข้อใดไม่ใช่เพลงขับร้องสลับดนตรี
- เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ บรรเลงอย่างเดียว
- เพลงเรื่อง เพลงหางเครื่อง บรรเลงอย่างเดียว
- เพลงเถา เพลงตับ เพลงสองชั้น (เพลงเกร็ด)เพลงระบำ บรรเลงสลับขับร้อง
- ข้อ a และ b ถูก
เพลงใดที่ใช้บรรเลงเป็นอันดับแรกก่อนที่จะมีการบรรเลงเพลงอื่นหรือจะเริ่มแสดงมหรสพต่างๆ
- เพลง เรื่อง
- เพลงเดี่ยว
- เพลงโหมโรง
- เพลงหางเครื่อง
“เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อครูดนตรีไทย,เพื่อเป็นการอัญเชิญเทพยดา ,เป็นการเตรียม จัด ปรับ แต่งเครื่องดนตรี ให้พร้อม สำหรับที่จะใช้บรรเลงต่อไป ,เป็นการอุ่นเครื่องนักดนตรีให้พร้อมที่จะบรรเลงเพลงต่อไป,เป็นการให้เสียงนักร้อง (กำหนดคีย์) ช่วยให้นักร้อง ร้องเพลงได้ตรงกับระดับเสียงของวงดนตรีที่บรรเลง ข้อความต่อไปนี้หมายถึงความหมายของบทเพลงประเภทใด
- เพลง เรื่อง
- เพลงเดี่ยว
- เพลงโหมโรง
- เพลงหางเครื่อง
เพลงหน้าพาทย์บรรเลงเป็นชุด บรรเลงก่อนพิธีกรรมในงานมงคลจะเริ่มขึ้น
ใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็งบรรเลง ใช้ทั้งในพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ และพิธีของสามัญชน เช่น งานทำบุญบ้านใหม่ งานบวช งานโกนผม หมายถึงเพลงประเภทใด
- โหมโรงพิธีกรรม
- โหมโรงเสภา
- โหมโรงวา
- ถูกทุกข้อ
ข้อใดคือความสำคัญของเพลงประเภทโหมโรง
- เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อครูดนตรีไทย ,อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธ์นำความเป็นสิริมงคลให้เกิดแก่งาน
- เป็นการเตรียม จัด ปรับ แต่งเครื่องดนตรี ให้พร้อม สำหรับที่จะใช้บรรเลงต่อไป
- เป็นการอุ่นเครื่องนักดนตรีให้พร้อมที่จะบรรเลงเพลงต่อไป ,เป็นการให้เสียงนักร้อง
- ถูกทุกข้อ
ข้อใดคือบทเพลงในชุดโหมโรงเย็น
- สาธุการ , ตระหญ้าปากคอก , รัวสามลา , เข้าม่าน , ปฐม , ลา
- เสมอ , รัวลาเดียว, เชิด, กลม ,ชำนาญ, กราวใน, ต้นชุบ ,จบด้วย ลา
- สาธุการ , เหาะ, รัวลาเดียว ,กลม , ชำนาญ
- ข้อ a และ b ถูก
ข้อใดคือบทเพลงในชุดโหมโรงเช้า
- สาธุการ , ตระหญ้าปากคอก , รัวสามลา , เข้าม่าน , ปฐม , ลา
- เสมอ , รัวลาเดียว, เชิด, กลม ,ชำนาญ, กราวใน, ต้นชุบ ,จบด้วย ลา
- สาธุการ , เหาะ, รัวลาเดียว ,กลม , ชำนาญ
- ถูกทุกข้อ
โหมโรงเย็นใช้กับวงปี่พาทย์ไม้แข็งบรรเลงในโอกาศใด
- ใช้สำหรับงานที่มีการทำบุญเลี้ยงพระตอนเช้า ใช้บรรเลงก่อน ที่พระจะมา
- สำหรับงานที่มีการนิมนต์พระมาสวดตอนเย็น ใช้บรรเลงก่อน ที่พระจะมาถึงบ้านงาน
- ใช้สำหรับงานที่มีการจัดพระธรรมเทศนา บรรเลงเพื่อให้ทราบว่า ที่บ้าน หลังนี้ หรือที่วัดนี้ จะมีพระธรรมเทศนา
- ถูกทุกข้อ
โหมโรงเช้าใช้กับวงปี่พาทย์ไม้แข็งบรรเลงในโอกาศใด
- ใช้สำหรับงานที่มีการทำบุญเลี้ยงพระตอนเช้า ใช้บรรเลงก่อน ที่พระจะมา
- สำหรับงานที่มีการนิมนต์พระมาสวดตอนเย็น ใช้บรรเลงก่อน ที่พระจะมาถึงบ้านงาน
- ใช้สำหรับงานที่มีการจัดพระธรรมเทศนา บรรเลงเพื่อให้ทราบว่า ที่บ้าน หลังนี้ หรือที่วัดนี้ จะมีพระธรรมเทศนา
- ถูกทุกข้อ
ขั้นตอนการบรรเลงเพลงโหมโรงเสภานั้นมีขั้นตอนการบรรเลงอย่างไร
- บรรเลงรัวประลองเสภา , บรรเลงเพลงโหมโรงวา เป็นเพลงท่อนเดี่ยว หรือจะเอา ๒-๓ เพลงมาบรรเลงติดต่อกันเป็น
ชุดสั้น ๆ , ท้ายเพลงวา - บรรเลงเพลงโหมโรงวา เป็นเพลงท่อนเดี่ยว หรือจะเอา ๒-๓ เพลงมาบรรเลงติดต่อกันเป็น ชุดสั้น ๆ,บรรเลงรัวประลองเสภา , ท้ายเพลงวา
- ท้ายเพลงวา , บรรเลงรัวประลองเสภา ,บรรเลงเพลงโหมโรงวา เป็นเพลงท่อนเดี่ยว หรือจะเอา ๒-๓ เพลงมาบรรเลงติดต่อกันเป็น ชุดสั้น ๆ
- บรรเลงรัวประลองเสภา , ท้ายเพลงวา , บรรเลงเพลงโหมโรงวาเป็นเพลงท่อนเดี่ยว หรือจะเอา ๒-๓ เพลงมาบรรเลงติดต่อกันเป็น ชุดสั้น ๆ
ความแตกต่างของโหมโรงวา กับโหมโรงเสภาคือข้อใด
- โหมโรงวาไม่มีรัวประลองบรรเลงก่อน , โหมโรงเสภามีรัวประลองเสภาบรรเลงก่อน
- โหมโรงวาขึ้นต้นด้วยเพลงท้ายวา ,โหมโรงเสภามีรัวประลองเสภาบรรเลงก่อน
- โหมโรงวาขึ้นต้นด้วยท้ายวา,โหมโรงเสภาจบด้วยท้ายวา
- ถูกทุกข้อ
ในการแสดงโขน ละครนั้น เพลงที่ใช้ประกอบการแสดง คือ เพลงหน้าพาทย์ นักเรียนคิดว่า ข้อใดเป็นสาเหตุที่ต้องใช้เพลงหน้าพาทย์ประกอบการแสดงโขน ละคร
- เพราะเพลงหน้าพาทย์เป็นเพลงชั้นสูง จึงเหมาะการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงอย่างโขน ละคร
- เพราะเพลงหน้าพาทย์ เป็นเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบกิริยา อาการของตัวละคร
- เพราะท่วงทำนองของเพลงหน้าพาทย์ จะช่วยให้การแสดงมีความสมจริงมากยิ่งขึ้น
- เป็นสิ่งที่บรมครูทางดนตรีไทยและนาฏศิลป์ได้ร่วมกันกำหนดไว้ตั้งแต่โบราณและได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับระดับขั้นของเพลงเพลงหน้าพาทย์
- เพลงหน้าพาทยชั้นต้น ( สามัญ ) ได้แก่ เพลงเชิด เสมอ กราวใน กราวนอก โอด ลา ปฐม
- เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลาง ได้แก่ เพลงเหาะ เสมอเถร ตระบองกัน ชำนาญ ตระนอน ตระนิมิต พราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก ศรทนง กลม โคมเวียน
- เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ได้แก่ ตระพระนารายน์ , ตระพระปรคนธรรพ องค์พระพิราพ
- ถูกทุกข้อ
การนำเพลงหน้าพาทย์ชั้นต้นไปใช้บรรเลงคือข้อใด
- ประกอบกิริยาอาการของมนุษย์หรือสัตว์
- ประกอบกิริยาบุคคลชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ เทพเจ้าทั่วไป
- ประกอบอริยาบทของเทพเจ้าผู้สูงศักด(ความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ )ได้แก่พระอินทร์ พระพรหม พระนารายน์ ,พระปรคนธรรพ ในพิธีไหว้ครู โขน - ละคร และดนตรีไทย
- ถูกทุกข้อ
การนำเพลงหน้าพาทย์ชั้นกลางไปใช้บรรเลงคือข้อใด
- ประกอบกิริยาอาการของมนุษย์หรือสัตว์
- ประกอบกิริยาบุคคลชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ เทพเจ้าทั่วไป
- ประกอบอริยาบทของเทพเจ้าผู้สูงศักด(ความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ )ได้แก่พระอินทร์ พระพรหม พระนารายน์ ,พระปรคนธรรพ ในพิธีไหว้ครู โขน - ละคร และดนตรีไทย
- ถูกทุกข้อ
การนำเพลงหน้าพาทย์ชั้นสูงไปใช้บรรเลงคือข้อใด
- ประกอบกิริยาอาการของมนุษย์หรือสัตว์
- ประกอบกิริยาบุคคลชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ เทพเจ้าทั่วไป
- ประกอบอริยาบทของเทพเจ้าผู้สูงศักด(ความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ )ได้แก่พระอินทร์ พระพรหม พระนารายน์ ,พระปรคนธรรพ ในพิธีไหว้ครู โขน - ละคร และดนตรีไทย
- ถูกทุกข้อ
ข้อใดคือความหมายของเพลงเรื่อง
- เพลงชุดที่นำเอาเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมารวมกันบรรเลงติดต่อกันเป็นชุด
- เพลงใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขนและละครในเรื่องอิริยาบถของตัวละคร.
- เพลงที่ใช้บรรเลงเป็นอันดับแรกก่อนที่จะมีการแสดงมหรสพต่างๆ หรือก่อนที่จะมีการบรรเลงและขับร้องเพลงอื่นๆต่อไป
- ถูกทุกข้อ
ข้อใดคือประเภทของเพลงเรื่อง
- เพลงเรื่องประเภทเพลงช้า เช่นเรื่องเต่ากินผักบุ้ง เรื่องจีนแส
- เพลงเรื่องประเภทเพลงเร็ว เช่น เรื่องแขกมัดตีนหมู เรื่องแขกบรเทศ
- เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เช่น เรื่องมุล่ง เรื่องช้างประสานงา
- ถูกทุกข้อ
ข้อใดคือความหมายของเพลงหางเครื่อง
- เพลงชุดที่นำเอาเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมารวมกันบรรเลงติดต่อกันเป็นชุด
- เพลงใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขนและละครในเรื่องอิริยาบถของตัวละคร.
- เพลงที่ใช้บรรเลงเป็นอันดับแรกก่อนที่จะมีการแสดงมหรสพต่างๆ หรือก่อนที่จะมีการบรรเลงและขับร้องเพลงอื่นๆต่อไป
- เป็นเพลงบรรเลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงเถา เป็นบทเพลงสั้นๆ ในอัตราจังหวะชั้นเดียวเพื่อให้สนุกสนาน ครึกครื้น
ข้อใดคือความหมายของเพลงเดี่ยว
- เพลงชุดที่นำเอาเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมารวมกันบรรเลงติดต่อกันเป็นชุด
- เพลงใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขนและละครในเรื่องอิริยาบถของตัวละคร.
- เป็นเพลงบรรเลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงเถา เป็นบทเพลงสั้นๆ ในอัตราจังหวะชั้นเดียวเพื่อให้สนุกสนาน ครึกครื้น
- เป็นเพลงพิเศษ ใช้สำหรับ บรรเลงเดี่ยวอวดฝีมือนักดนตรี