แนวคิดที่ ๒ สันนิษฐานว่า ดนตรีไทย เกิดจากความคิด และ สติปัญญา ของคนไทย เกิดขึ้นมาพร้อมกับคนไทย ตั้งแต่ สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ ของประเทศจีนแล้ว ทั้งนี้เนื่องจาก ดนตรี เป็นมรดกของมนุษยชาติ ทุกชาติทุกภาษาต่างก็มี ดนตรี ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของตนถึงแม้ว่าในภายหลังจะมีการรับเอาแบบอย่าง ดนตรี ของต่างชาติเข้ามาก็ตาม แต่ก็เป็น การนำเข้ามาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม กับ ลักษณะและนิสัยทางดนตรี ของคนในชาตินั้น ๆ ไทยเราตั้งแต่สมัยที่ยังอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน ก็คงจะมี ดนตรี ของเราเองเกิดขึ้นแล้ว ทั้งนี้จะสังเกตเห็นได้ว่า เครื่องดนตรี ดั้งเดิมของไทย จะมีชื่อเรียกเป็นคำโดดซึ่งเป็นลักษณะ ของคำไทยแท้ เช่น เกราะ, โกร่ง, กรับ ฉาบ, ฉิ่ง ปี่, ขลุ่ย ฆ้อง, กลอง .. เป็นต้น ต่อมาเมื่อไทยได้อพยพ ลงมาตั้งถิ่นฐานในแถบแหลมอินโดจีนจึงได้มาพบวัฒนธรรมแบบอินเดีย โดยเฉพาะ เครื่องดนตรีอินเดีย ซึ่งชนชาติมอญ และ เขมร รับไว้ก่อนที่ไทยจะอพยพเข้ามา ด้วยเหตุนี้ ชนชาติไทย ซึ่งมีนิสัยทางดนตรีอยู่แล้ว จึงรับเอาวัฒนธรรมทางดนตรีแบบอินเดีย ผสมกับแบบมอญและเขมร เข้ามาผสมกับดนตรีที่มีมาแต่เดิมของตน จึงเกิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก ได้แก่ พิณ สังข์ ปี่สรไนย บัณเฑาะว์ กระจับปี่ และจะเข้ เป็นต้น ต่อมาเมื่อไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแหลมอินโดจีนอย่างมั่นคงแล้ว ได้มีการ ติดต่อสัมพันธ์ กับประเทศเพื่อนบ้านในแหลมอินโดจีน หรือแม้แต่กับประเทศทางตะวันตกบางประเทศที่เข้ามา ติดต่อค้าขาย ทำให้ไทยรับเอาเครื่องดนตรีบางอย่าง ของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นมาใช้ เล่นใน วงดนตรีไทย ด้วย เช่น
๑
กลองแขก ปี่ชวา รับวัฒนธรรมมาจาก ชวา ( อินโดนิเซีย)
๒
กลองมลายู รับวัฒนธรรมมาจากมลายู ( มาเลเซีย)
๓
เปิงมาง ตะโพนมอญ ปี่มอญ และฆ้องมอญ รับวัฒนธรรมมาจากมอญ
๔
กลองยาว รับวัฒนธรรมมาจากพม่า
๔
ขิม รับวัฒนธรรมมาจากจีน
๕
กลองมริกัน รับวัฒนธรรมมาจากอเมริกัน
๖
เปียโน ออร์แกน และ ไวโอลิน รับวัฒนธรรมมาจากประเทศทางตะวันตก
|