วงดนตรีประกอบการแสดงภาคใต้ของชาวไทยพุทธ
วงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการแสดงหนังตะลุงและมโนราห์
การแสดงมโนราห์ภาคใต้

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบการแสดงคือ ๑ ทับ ๒ กลองตุ๊ก ๓ ปี่ ๔ฆ้องคู่ ฉิ่ง ๕แตระ (ย้อนกลับ)
การแสดงหนังตะลุง

เครื่องดนตรีที่ใช้ในการประกอบการแสดงในสมัยโบราณคือ ๑ทับ ๒กลองตุ๊ก๓ปี่๔ฆ้องคู่ ฉิ่ง๑คู่ ในสมัยปัจจุบันได้มีการประยุกต์โดยนำเครื่องดนตรีสากล เข้ามาบรรเลงประกอบด้วย (ย้อนกลับ)

วงดนตรีประกอบการแสดงภาคใต้ของชาวไทยมุสลิม

ภาพการแสดงมะโย่งของชาวอำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลเจ้าเกล้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)
การแสดงมะโย่ง
  มะโยง หรือเมาะโย่ง เป็นการแสดงของพวกเชิงเขาบูโด เป็นศิลปะการแสดงทำนอง เดียวกับมโนราห์ คณะมะโย่งมีตัวพระคือเปาะโย่ง ตัวนางคือมะโย่ง และตัวตลกหรือ เสนา นอกนั้นเป็นนักดนตรี เรื่องที่แสดง เช่น เดวามูดอ หรือเทพบุตร เรื่องกอดังมัส หรือสังข์ทอง การละเล่นมะโยงเป็นการเล่น เพื่อแก้บน เวลามีคนล้มป่วย ญาติของ ผู้ป่วย มักจะบนว่า หากคนป่วยหาย จะทำการละเล่นเมาะโยง เครื่องดนตรีมะโย่งประกอบด้วย ๑ กลองมลายู ๑ คู่ ๒. ซอฆือปะ(คล้ายซอสามสาย) ๑ คัน (บางโรงใช้ไวโอลินแทนซอ) ๓ ฆ้องขนาดใหญ่ ๑ คู่ ๔ ซือแระ(ไม้แตระอย่างมโนราห์ ๒ คู่) ๕.กอเลาะหรือไม้กรับ ๒ คู่ (ย้อนกลับ)
ลิเกฮูลู เป็นการละเล่นพื้นบ้านแถบจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ได้รับความนิยมมากของชาวไทยมุสลิม มักจะใช้แสดงในงานมาแกปูโละ งานสุหนัด งานเมาลิด งานฮารีรายอแล้ว คำว่า "ลิเก" หรือ "ดิเกร์" เป็นศัพท์เปอร์เซีย ฮูลู หมายถึง คนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เช่น อยู่เชิงเขา อยู่ห่างทะเล นี่คือฮูลู เพราะฉะนั้นลิเกฮูลูจึงเป็นการละเล่นของคนที่อยู่ห่างไกล แต่ในมาเลย์เรียกลิเกปารัต ซึ่งปารัตแปลว่า ทิศตะวันตก คือคนมาเลย์รับศิลปะนี้ไปจากปัตตานี ที่อยู่ทางทิศตะวันตก ที่มาเลย์เลยเรียกว่า ลิเกปารัต
เครื่องดนตรี
    ประกอบด้วย รำมะนา(รือบานา) อย่างน้อย ๒ ใบ ฆ้อง ๑ วง และลูกแซ็ก ๑- ๒ คู่ อาจมีขลุ่ยเป่าคลอขณะลูกคู่ร้อง ดนตรีบรรเลงดนตรีจะหยุดเมื่อมีการร้องหรือขับ (ย้อนกลับ)



รองเง็ง     มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ว่า มีการเต้นรองเง็งมานานแล้วสมัยก่อนการยกเลิกการปกครอง 7 หัวเมืองภาคใต้ โดยนิยมเต้นกันเฉพาะในวังของเจ้าเมือง แขกผู้ชายที่ได้รับเชิญมารื่นเริงในวัง จะได้จับคู่เต้น กับฝ่ายผู้หญิง ซึ่งเป็นบริวารในวังและมีหน้าที่เต้นรองเง็ง ต่อมารองเง็งได้แพร่หลายไปสู่ชาวบ้าน โดยใช้เป็นการสลับฉากของมะโย่ง ผู้แสดงมะโย่งที่เป็นผู้หญิงจะร้องเพลงเชิญชวนให้ผู้ชมขึ้นไป ร่วมเต้นรองเง็งด้วย
เครื่องดนตรี
   ๑ ไวโอลิน  ๒ แบนดาริน  ๓ รือบานา  ๔ ฆ้อง
(ย้อนกลับ)

* ลักษณะเด่นของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ *
๑. เครื่องดนตรีพื้นบ้านของภาคใต้ ส่วนใหญ่ และดั้งเดิม จะเป็นเครื่องตี และที่จัดได้ว่าเป็นเครื่อง สำคัญ คือทับ รำมะนา กลอง และโหม่ง รองลงมาคือ เครื่องเป่า   ส่วนเครื่องสี เครื่องดีด เกือบจะไม่มีบทบาทเลย

๒. ผู้บรรเลงดนตรี จะเป็นผู้ชายล้วน เพราะถือว่าการเล่นดนตรีเพื่อพิธีกรรม ถ้าหญิงเล่นจะคลายความศักดิ์สิทธิ์ไป และเครื่องดนตรีบางอย่างต้องใช้แรงมาก

๓. วัตถุประสงค์ในการเล่นที่สำคัญคือเพื่อประกอบพิธีกรรมรองลงมาคือเพื่อความรื่นเริง