ประเภทของเพลงไทยเดิม
เพลงไทยเดิมหมายถึงเพลงที่มีทำนองเป็นเอกลักษณ์แบบไทยการบรรเลงการขับร้องที่เป็นแบบไทยและประพันธ์ตามหลักของดนตรีไทย เพลงไทยที่ได้ยินกันอยู่มีทั้ง เพลงที่มีผู้ขับร้องพร้อมกับบรรเลง และ บรรเลงอย่างเดี่ยว ลักษณะเพลงทำนองมีความช้าความเร็วแตกต่างกันไป เพลงไทยเดิมที่ใช้บรรเลง จำแนกได้ ๒ ประเภท คือ
๑.ประเภทเพลงบรรเลงล้วน คือ เพลงที่ใช้ดนตรีบรรเลงล้วน ๆ จะเป็นวงดนตรีชนิดใดก็ตามเพลงประเภทนี้ ได้แก่ เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์ เพลงเรื่อง เพลงหางเครื่อง ( ท้ายเครื่อง) เพลงลูกบท และเพลงภาษา
๒.ประเภทที่มีการขับร้องประกอบการบรรเลง คือ เพลงที่มีการขับร้องและมีดนตรีบรรเลงประกอบไปด้วยในภาษานักดนตรีเรียกเพลงขับร้องว่า "เพลงรับร้อง" เพราะใช้ดนตรีรับการขับร้อง หรือ" การร้องส่ง" ก็เรียกกัน เพราะร้องแล้วส่งให้ดนตรีรับ เพลงประเภทนี้ ได้แก่ เพลงเถา เพลงตับ เพลงเกร็ด และเพลงเบ็ดเตล็ด |
๑.เพลงโหมโรง เพลงโหมโรงคือ เพลงที่ใช้บรรเลงเป็นอันดับแรกก่อนที่จะมีการแสดงมหรสพต่างๆ หรือก่อนที่จะมีการบรรเลงและขับร้องเพลงอื่นๆต่อไป เพื่อเป็นเครื่องหมายว่า การแสดงมหรสพหรือการบรรเลง กำลังจะเริ่ม การบรรเลงเพลงโหมโรง แสดงถึงความหมายดังนี้
๑. เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อครูดนตรีไทย ด้วยการระลึกถึงพระคุณและขอพรจากท่าน เพื่อความเป็นสิริมงคล และเกิดกำลังใจในการบรรเลงและขับร้องต่อไป (โหมโรงพิธีกรรม,โหมโรงเสภา)
๒ เพื่อเป็นการอัญเชิญเทพยดา และสิ่งศักดิ์สิทธ์ทั้งหลายให้เสด็จมาร่วมในงานพิธีที่จัดขึ้น และนำความเป็นสิริมงคลให้เกิดแก่งานพิธีนั้น ๆ (โหมโรงพิธีกรรม)
๓. เป็นการเตรียม จัด ปรับ แต่งเครื่องดนตรี ให้พร้อม สำหรับที่จะใช้บรรเลงต่อไป เป็นการทดสอบเครื่องดนตรีไปในตัว(โหมโรงพิธีกรรม,โหมโรงเสภา)
๔ เป็นการอุ่นเครื่องนักดนตรีให้พร้อมที่จะบรรเลงเพลงต่อไป เช่นเดียวกับการ Warm up ของนักกีฬาก่อนที่จะลงสนามแข่งขัน (โหมโรงพิธีกรรม,โหมโรงเสภา)
๕ เป็นการให้เสียงนักร้อง (กำหนดคีย์) ช่วยให้นักร้อง ร้องเพลงได้ตรงกับระดับเสียงของวงดนตรีที่บรรเลง (นักร้องที่มีความสามารถเมื่อฟังทำนองท่อนจบของเพลงโหมโรง สามารถขับร้องเพลงต่อไปได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้นักดนตรีให้เสียง) (โหมโรงเสภา)
๑.๑เพลงโหมโรงที่เป็นเพลงชุด (โหมโรงพิธีกรรม) (เพลงหน้าพาทย์บรรเลงเป็นชุด) บรรเลงก่อนพิธีกรรมในงานมงคลจะเริ่มขึ้น
ใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็งบรรเลง ใช้ทั้งในพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ และพิธีของสามัญชน เช่น งานทำบุญบ้านใหม่ งานบวช งานโกนผมจุก เพลงโหมโรงพิธีกรรมมีดังนี้
ก.เพลงโหมโรงเย็น สำหรับงานที่มีการนิมนต์พระมาสวดตอนเย็น ใช้บรรเลงก่อน ที่พระจะมาถึงบ้านงาน เพลงชุดนี้มี ๑๓ เพลง ตามลำดับดังนี้
๑. สาธุการ ๒. ตระหญ้าปากคอก ๓. รัวสามลา ๔. เข้าม่าน ๕. ปฐม ๖. ลา ๗. เสมอ ๘. รัวลาเดียว ๙. เชิด ๑๐. กลม ๑๑. ชำนาญ ๑๒. กราวใน ๑๓ต้นชุบ จบด้วย ลา
ข. เพลงโหมโรงเช้า ใช้สำหรับงานที่มีการทำบุญเลี้ยงพระตอนเช้า ใช้บรรเลงก่อน ที่พระจะมาถึงบ้านงาน มี ๕ เพลง เรียงลำดับดังนี้
๑. สาธุการ ๒. เหาะ ๓. รัวลาเดียว ๔ กลม ๕. ชำนาญ (ชำนัน)
ค.เพลงโหมโรงเทศน์ ใช้สำหรับงานที่มีการจัดพระธรรมเทศนา บรรเลงเพื่อให้ทราบว่า ที่บ้าน หลังนี้ หรือที่วัดนี้ จะมีพระธรรมเทศนา เพลงโหมโรงชุดนี้มี ๖ เพลงคือ
๑. สาธุการ ๒. กราวใน ๓. เสมอ- รัว ๔. เชิด ๕. ชุบ ๖. ลา
|
๑.๒ เพลงโหมโรงที่เป็นเพลงเดียวหรืออาจเป็น ๒ เพลงต่อเนื่อง
ก. เพลงโหมโรงเสภา ในสมัยโบราณใช้บรรเลงประกอบการขับเสภา โดยบรรเลงสลับกันกับการขับเสภา ใช้วงปี่พาทย์เสภาบรรเลง ซึ่งมีขั้นตอนการบรรเลงดังนี้
๑. บรรเลงเพลงรัวประลองเสภา เป็นเพลงสั้น ๆ เพื่ออุ่นเครื่องของนักดนตรีและเพื่อตรวจความเรียบร้อยของเครื่องดนตรี นอกจากนี้เพื่อให้ฟังตื่นเต้นเร้าใจ ก่อนที่จะฟังเพลงโหมโรง ในเพลงต่อไป
๒. บรรเลงเพลงโหมโรงเสภา เป็นเพลงท่อนเดี่ยว หรือจะเอา ๒-๓ เพลงมาบรรเลงติดต่อกันเป็นชุดสั้น ๆ เช่น เพลงไอยเรศ สะบัดสะบิ้ง ม้ารำต่อด้วยม้าสะบัดกลีบ โหมโรงพม่าวัด โหมโรงขวัญเมือง ฯลฯ ข้อสำคัญเพลงโหมโรงเหล่านี้จะต้องลงท้ายด้วย ท้ายวา ก่อนที่จะเริ่มขับเสภา
ข.โหมโรงวาโหมโรงวากับโหมโรงเสภามีลักษณะคล้ายคลึงกันแตกต่างกันที่โหมโรงเสภาจะต้องเริ่มด้วยรัวประลองเสภาก่อนทุกครั้ง แต่โหมโรงวาไม่ต้องขึ้นด้วยรัวประลองเสภา แต่ตอนจบบทเพลงต้องจบด้วยทำนองจบของเพลงวา มีลักษณะเพลงที่เป็นอัตราจังหวะสามชั้น บรรเลงต่อด้วยทำนองท่อนจบของเพลงวา ซึ่งสามารถ ใช้บรรเลงได้ ทั้งวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย และวงมโหรี เช่น เพลงโหมโรงเยี่ยมวิมาน เพลงโหมโรงปฐมดุสิต โหมโรงกระแตไต่ไม้ เป็นต้น
๑.๓เพลงหน้าพาทย์ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขนและละครในเรื่องอิริยาบถของตัวละครเช่นเดินทางระยะใกล้,ไกล,เดินทางทางน้ำ,บิน,สู้รบ หรืออารมณ์ของตัวละครเช่นเสียใจ,ดีใจ และบรรเลงประกอบพิธีไหว้ครูเพื่ออัญเชิญ ฤๅษีเทวดาครูที่เป็นสมมุติเทพและครูทางด้านดนตรีที่เสียชีวิตไปแล้วให้มาร่วมในพิธีไหว้ครู จำแนกได้ ๓ ประเภท
เพลงหน้าพาทยชั้นต้น (หน้าพาทย์สามัญ )
ประกอบกิริยาอาการของมนุษย์หรือสัตว์ ได้แก่ เพลงเชิด เสมอ กราวใน กราวนอก โอด ลา ปฐม เป็นต้น
( เพลง " โอด " บรรเลงประกอบอารมณ์เสียใจ) |
|
(เพลง " กราวรำ " บรรเลงประกอบอารมณ์ดีใจ) |
|
(เพลง " เชิด " บรรเลงประกอบการเดินทางระยะไกลและการสู้รบ) |
|
เพลงหน้าพาทย์ชั้นกลาง ประกอบกิริยาบุคคลชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ เทพเจ้าทั่วไป ได้แก่ เพลงเหาะ เสมอเถร ตระบองกัน ชำนาญ ตระนอน ตระนิมิต พราหมณ์เข้า พราหมณ์ออก ศรทนง กลม โคมเวียน เป็นต้น
(เพลง " กลม " ใช้บรรเลงประกอบขบวนเสด็จของพระมหากษัตริย์) |
|
เพลงหน้าพาทย์ชั้นสูง ประกอบอริยาบทของเทพเจ้าผู้สูงศักด(ความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ )ได้แก่พระอินทร์ พระพรหม พระนารายน์ ,พระปรคนธรรพ ในพิธีไหว้ครู โขน - ละคร และดนตรีไทย
(เพลงตระพระปรคนธรรพ)
ใช้บรรเลงอัญเชิญพระปรคนธรรพ รวมเทวดาทางดนตรีไทยและเทวดาทางนาฎศิลป์มาชุมนุมในมณฑลพิธีไหว้ครู |
|
|
(เพลงตระเชิญ)
ใช้อัญเชิญพระอิศวรเสด็จลงมาร่วมเป็นปฐมฤกษ์ในมณฑลพิธี พระอิศวรคือเทพที่ออกแบบท่ารำทั้ง ๑๐๘ ท่า |
|
|
๑.๓ เพลงเรื่อง คือเพลงชุดที่นำเอาเพลงที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมารวมกันบรรเลงติดต่อกันเป็นชุดดังนี้
เพลงเรื่องประเภทเพลงช้า เช่นเรื่องเต่ากินผักบุ้ง เรื่องจีนแส
เพลงเรื่องประเภทเพลงเร็ว เช่น เรื่องแขกมัดตีนหมู เรื่องแขกบรเทศ
เพลงเรื่องประเภทเพลงฉิ่ง เช่น เรื่องมุล่ง เรื่องช้างประสานงา
เพลงเรื่องประเภทเพลงที่เกี่ยวกับพิธีกรรม เช่น เรื่องทำขวัญ(เวียนเทียน) มีความหมายในการบรรเลงดังนี้
เพลงเรื่องชุดทำขวัญ มีการแปลความหมายกันว่า เทพเจ้าได้มาประสิทธิ์ประสาทพร เพื่อความเป็นมงคลแก่บุคคลนั้น ๆ เพลงต่างๆ จึงได้ถูกกำหนดอาการและความหมายที่แตกต่างกันไป ตามชื่อบทเพลง เช่น
๑ นางนาค ขอให้มี ศิริมงคลเหมือนดังนางนาค ขึ้นมาก่อกำเนิดวีรบุรุษตามสมัยโบราณ
๒ มหาฤกษ์ ถึงฤกษ์อันเป็นมงคลเป็นปฐม
๓ มหากาล ถึงเวลาฤกษ์งามยามดีแล้ว
๔ มหาชัย ให้ผู้อยู่ในมงคลพิธีเป็นผู้ชนะ คือชนะความดี
๕ สังข์เล็ก ให้รับน้ำสังข์จากพระวิษณุกรรม
๖ ดอกไม้ไทร ให้ร่มเย็นดังต้นไทร
๗ ดอกไม้ไพร ดอกไม้คลี่บานด้วยความสดชื่น
๘.ดอกไม้ร่วง เทพบุตร เทพธิดาโปรยดอกไม้
๙ พัดชา เป็นการขับกล่อมให้รื่นรมย์
๑๐ บ้าบ่น การพร่ำเรียกขวัญ
๑๑ คู่บ้าบ่น เคียงบ้าบ่น การพร่ำเรียกขวัญ
๑๒ มโนราห์โอด ขอรับขวัญ ดังมโนราห์ฟ้อนรำเพื่อจะกลับมาบ้านเมือง
๑๓ ต้นกราวรำ แสดงว่าเริ่มเห็นมีโชคแล้ว
๑๔ กราวรำ เป็นการประสบโชคชัยโดยสมบูรณ์แล้ว
๑๕ ดับควันเทียน เป่าอวยพรให้ผู้อยู่ในพิธีนั้นประสบศิริมลคงทุกประการ
๑.๔เพลงหางเครื่อง เป็นเพลงบรรเลงที่บรรเลงต่อท้ายเพลงเถา เป็นบทเพลงสั้นๆ ในอัตราจังหวะชั้นเดียวเพื่อให้สนุกสนาน ครึกครื้น
(เพลงหางเครื่องสำเนียงพม่า) |
|
๑.๕ เพลงเดี่ยว เป็นเพลงพิเศษ ใช้สำหรับ บรรเลงเดี่ยวอวดฝีมือนักดนตรี
(พลงลมพัดชายเขา เดี่ยวขลุ่ย) |
|
|