หน้า ๓




เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่เกิดเสียงจากหนังสัตว์ สามารถดำเนินทำนองได้
ประเภทกำกับจังหวะ


 
เปิงมางคอก เป็นเครื่องดนตรีประเภทที่ ขึงหรือหุ้มด้วยหนังทั้งสองหน้าแต่ใช้ตีหน้าเดียวโดยแขวนตี ีอยู่บนแผงซึ่งทำ ด้วยไม้ เป็นรูปครึ่งวงกลม เรียงลดหลั่นจากเล็กไปหาใหญ่ จำนวน ๗ ใบเวลาตีติดข้าวสุกเทียบเสียงให้มีเสียงดังลดหลั่นกันไป ๗ เสียง ใช้ตีสอดสลับกับตะโพนมอญตามหน้าทับที่กำหนดไว้ หรือ ตีตามทำนองเพลงบางครั้งใช้ตีให้เกิดความสนุกสนาน ผสมผสานไปกับตะโพนมอญ ตีแบบรัวด้วยความเร็วไปทั่วทั้ง ๗ ลูก มีลูกเล่นด้วยการใช้ศอกลงไปที่เปิงมางแต่ละลูก  (ย้อนกลับ)


เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่เกิดเสียงจากหนังสัตว์ ไม่สามารถดำเนินทำนองได้
ประเภทกำกับจังหวะ



 

ตะโพนไทย เป็นเครื่องตีประเภทกำกับจังหวะหน้าทับ ซึ่ง ขึงหรือหุ้มด้วยหนังทั้งสองหน้า ตีด้วยมือทั้งสองข้าง พบหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งบอกให้รู้ว่า เกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย บรรเลงผสมในวงปี่พาทย์เครื่องห้า มีหน้าที่ตีกำกับจังหวะหน้าทับ เพื่อบอกสัดส่วน ประโยค วรรคตอนและอัตราของทำนองเพลง นอกจากนั้นยังช่วยให้การบรรเลงร่วมวงแต่ละครั้ง ครึกครื้น สนุกสนานเร้าใจ มีวิธีตีอยู่ ๒ แบบ
๑. ตีเป็นอิสระ มีหน้าทับที่ตีคนเดียว
๒. ตีสอดสลับ หรือตีท้าให้กลองทัดรับตามแบบแผนของหน้าทับที่เป็นต้นแบบ (ย้อนกลับ)



 

ตะโพนมอญ เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงหรือหุ้มด้วยหนังทั้งสองหน้า มีลักษณะคล้ายตะโพนไทย แต่ใหญ่และยาวกว่า เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะหน้าทับควบคู่ไปกับเปิงมางคอกในวงปี่พาทย์มอญไทยเราได้แบบอย่างมาจากดนตรีของมอญ (ย้อนกลับ)


 
กลอดทัด เป็นเครื่องตีประเภทกำกับจังหวะหน้าทับ ที่ขึงหรือหุ้มด้วยหนังทั้ง๒ หน้า แต่ใช้ตีเพียงข้างเดียวพบหลักฐานทางประวัติศาสตร์บ่งบอกว่า ใช้ตีคู่กันมากับตะโพนในวงปี่พาทย์เครื่องห้าสมัยกรุงสุโขทัย มีหน้าที่เป็นเครื่องกำกับจังหวะหน้าทับเช่นเดียวกับตะโพน เดิมมี ๑ ลูก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึง เพิ่มขึ้นเป็น ๒ ลูกเป็นคู่กัน ลูกหนึ่งมีมีเสียงต่ำ เรียกว่า “ ตัวเมีย” อีกลูกหนึ่งมีเสียงสูงเรียกว่า “ ตัวผู้” เพื่อให้ เสียงดังไพเราะ หนังหน้ากลองด้านล่างจะติดข้าวสุกผสมขี้เถ้า เป็นเครื่องถ่วงเสียง เวลาตีจะตั้งอยู่บน หมอนกลอง และค้ำด้วย ขาหยั่งกลอง ตีด้วยไม้กลองด้วยมือข้างละอัน ขนาดของกลองทัดจะใหญ่ หรือเล็กขึ้นอยู่กับหุ่นที่ผู้สร้างต้องการ โดยเฉพาะลูกใหญ่เสียงก็จะดังมากกว่าลูกเล็ก



 

กลองตะโพน   เป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่ขึงหรือหุ้มด้วยหนังทั้งสองหน้า แต่ใช้ตีหน้าเดียว เป็นกลองที่สร้างและปรับปรุงขึ้นใหม่ ใช้ตีในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ( แทนกลองทัด ) ที่สมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๕ ที่เรียกว่ากลองตะโพนก็เพราะว่า มีลักษณะคล้ายคลึงกับตะโพน และใช้ตีเหมือนกลองทัด มี ๒ ลูกๆหนึ่งมีเสียงต่ำเรียกว่า “ ตัวเมีย “ อีกลูกหนึ่งมีเสียงสูงเรียกว่า “ ตัวผู้ “ (ย้อนกลับ)




 

กลองแขก เป็นเครื่องตีอีกชนิดหนึ่งที่ขึงหรือหุ้มด้วยหนังทั้งสองหน้า ใช้ตีด้วยมือทั้งสอง เป็นเครื่องดนตรีเรานำแบบอย่างมาจากแขกประเทศชวา ( อินโดนิเซีย ) ซึ่งแต่เดิมใช้ตีประกอบการแสดงละครเรื่อง “ อิเหนา “ ตอน ฉายกริซ หรือเพลงอันใดที่มาจากแขก เช่นเพลงพระทอง เบ้าหลุด สะระบุหร่ง เป็นต้น นักดนตรีไทย นำเอา กลองแขกมาตีผสมในวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดง เป็นเครื่องกำกับจังหวะหน้าทับแทนตะโพนบางเพลง ปัจจุบันนำกลองแขกมาตีแทนกลองสองหน้า ในการบรรเลงและขับร้องเพลงสามชั้นและเพลงเถา กลองแขก มี ๒ลูก ลูกหนึ่งเสียงสูงเรียกว่า " ตัวผู้ " อีกลูกหนึ่งเสียงต่ำ เรียกว่า " ตัวเมีย " ทั้งสองลูกตีสอด สลับกันไป ตามทำนองเพลง และจังหวะหน้าทับที่เป็นต้นแบบ ต่อมาพบว่าในการเล่น กระบี่-กระบอง และการชกมวยไทย ก็นิยมนำกลองแขกมาตีประกอบการเล่น โดยมีปี่ชวาเป่าเป็นเครื่องบรรเลงทำนอง ในการไหว้ครูและต่อสู้ ในเพลง " สะระหม่า และแปลง " (ย้อนกลับ)



 

กลองมาลายู เป็นเครื่องตีประเภทกำกับจังหวะหน้าทับ ที่ขึง หรือหุ้มด้วยหนังทั้ง ๒หน้า มีรูปลักษณะคล้ายคลึง กลองแขก แต่ตัวกลองนั้นอ้วนและสั้นกว่ากลองแขกมี ๒ลูก ตัวผู้กับตัวเมียหน้ารุ่ยหรือหน้าใหญ่ของกลองทั้งคู่ จะตีด้วย ไม้งอๆปลาย เรียวแหลม ส่วนหน้าต่านหรือหน้าเล็ก จะตีด้วยมือ ปรกติจะใช้ตีกับวงปี่พาทย์นางหงส์ ในงานอวมงคล หรือตีในวงบัวลอย ร่วมกับปี่ชวาและเหม่ง ปัจจุบันการสร้างกลองมาลายู และกลองแขกปนกัน กล่าวคือ
กลองแขก
ต้องใช้หวายผ่าซีกเป็นเครื่องโยงเร่งเสียง มีหวายทำเป็นห่วงรูดขึ้นลงที่สายโยงเร่งเสียงอีกครั้งหนึ่ง กลองแขกตีด้วยมือเปล่า และหน้าต่าน กลองแขก ตีด้วย ปลายนิ้วมือ
กลองมาลายู ใช้หนังเรียดเป็นสายโยงเร่งเสียง และมีหนังเรียดรัดอกที่สายโยงเร่งเสียงอีกทีหนึ่ง กลองมลายูตีด้วยไม้งอ เรานำกลองมาลายูมาใช้ตี ในกระบวนแห่ เช่น คเชนทรัศวสนาน แห่พระบรมศพเชื้อพระวงศ์ ต่อมานำไปใช้บรรเลงเป็นเครื่องประโคมศพ มีกลองมาลายู๔ลูกตีด้วยไม้งอๆ ปี่ชวา ๑ เลา และฆ้องเหม่ง ๑ ใบ บรรเลงเพลงชุดบัวลอยโดยจัดเป็นชุด เรียกว่า   “ วงกลองสี่ปี่หนึ่ง ” ภายหลังลดกลองมาลายูลงเหลือ๒ลูกใช้ตีเป็นเครื่องประโคมศพเป็นระยะๆหรือที่เรียกว่า“ประโคมยาม”
(ย้อนกลับ)


โทนมโหรี ตัวหุ่นทำด้วยดินเผา ด้านหัวกลม ลักษณะใหญ่ กว่าโทนชาตรี ใช้หวายผ่าซีกเป็นสายโยงเร่งเสียง หรือใช้ สายไหมควั่นเป็นเกลียว ขึ้นหน้าด้วยหนังลูกวัว หนังแพะ หนังงูเหลือม หุ่นโทนบริเวณตอนกลาง ถึงตอนปลาย บางลูกเขียนลวดลาย บางลูกประดับมุข ใช้ตีกำกับจังหวะหน้าทับในวงเครื่องสายและวงมโหร (ย้อนกลับ)

 
รำมะนามโหรี   ตัวหุ่นทำด้วยไม้ ลักษณะกลมเล็ก แบนสั้น ตอนปลายกลึงเป็นขอบกลมหนา ขึ้นหน้าด้วยหนังลูกวัว ตรึง ด้วยหมุดซึ่งทำด้วย โลหะ ตอกติดรอบขอบ จะเร่งหรือลดเสียงไม่ได้ แต่จะมี " สนับ " ซึ่งทำด้วย เชือกควั้นเป็นเกลียว ( ปัจจุบันใช้หวายยัดภายในหน้าขอบ) หนุนให้หนังตึง มีเสียงกังวานเมื่อใช้ตี บางลูกหมุดและขอบด้านหลังประกอบด้วยงา ใช้ตีคู่ กับโทนมโหร (ย้อนกลับ)


 

กลองสองหน้า เป็นเครื่องตีประเภทกำกับจังหวะหน้าทับ ขึงหรือหุ้มด้วยหนัง มีลักษณะคล้ายกับเปิงมางแต่ยาวกว่า ใช้ตีทั้งสองหน้าด้วยมือทั้งสองข้าง โดยใช้มือขวาตีหน้าเล็ก เรียกว่า " หน้ามัด " และใช้มือซ้ายตีหน้าใหญ่ซึ่งเรียกว่า " หน้าเท่ง " ปรับปรุงขึ้นใช้ตีแทนตะโพนบรรเลงผสม อยู่ในวงปี่พาทย์เสภาแต่ครั้งรัชกาลที่ ๒มีหน้าที่ตีกำกับจังหวะหน้าทับ ตีบอกประโยควรรคตอนและ อัตราของเพลงเวลาตีหน้าหนังจะติดข้าวสุกผสม ขี้เถ้าถ่วงให้ได้เสียงที่ไพเราะและกำหนดเป็นแบบแผนให้หน้ามัดซึ่งตีด้วยมือขวา ต้องมีเสียงหรือขึ้นเสียงให้ตรงกับเสียงเสภาคือลูกที่สองรองจากยอดประดิษฐ์วิธีตีที่เรียกว่า"หน้าทับ"เลียนแบบตะโพนปรกติจะใช้หน้าทับปรบไก่และสองไม้เป็นพื้นฐาน (ย้อนกลับ)


 

กลองยาว     เครื่องดนตรีประเภทหุ้มหนังหน้าเดียว ตีด้วยมือ เป็นเครื่องดนตรีที่ไทยเราได้แบบอย่างมาจากพม่า ราวสมัยกรุงธนบุรี หรือต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยที่ไทยกับพม่ากำลังทำสงครามกัน เวลาพักรบทหารพม่าก็เล่นกลองยาวกันอย่างสนุกสนาน พวกคนไทยเห็นก็จำแบบอย่างมาเล่น ต่อมาประชาชนคนไทยตามชนบทนิยม นำเอากลองยาวมาจัดเป็นวง รวมกันหลายๆลูก ผสมกับ ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง บางที่มีปี่ชวาเข้าร่วม ตีเป็นขบวนแห่ใน งานมงคลต่างๆ เช่น แห่นาค แห่เทียนเข้าพรรษา แห่พระ เป็นต้น เวลาตีใช้ผ้า หรือเชือกมาผูกคล้องคอตี และให้ดังได้เสียงที่ไพเราะ จะติดข้าวสุกผสมขี้เถ้า กลางหน้าหนัง ซึ่งจะทำให้เกิดเสียง “ เทิ่ง และ บ่อม “ อันเป็นเสียงที่รู้จัดกันดีในหมู่ชาวไทย ในวงการดนตรีไทย นำกลองยาวมาตีเป็นเครื่องกำกับจังหวะ หน้าทับ ใน เพลงสำเนียงภาษาพม่า (ย้อนกลับ)


 

รำมะนาลำตัด   ตัวหุ่นทำด้วยไม้ ลักษณะกลมใหญ่ ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ส่วนกลางป่อง หน้าและหลังงุ้มเข้าเล็กน้อย ขึ้นด้วยหนังวัวรีดให้บางกลม โดยใช้หวายผ่าซีก เป็นสายโยงเร่งเสียง ระหว่างขอบหน้าหนังกับวงเหล็กที่รองก้น ขึ้นหน้าหนังให้ตึงด้วย “ ลิ่ม ” ซึ่งทำด้วยไม้แบนถาก ปลายแหลม เพื่อตอกเข้าไป ในเหล็กวงกลม เป็นระยะๆ โดยรอบ เพื่อดึงสายโยงเร่งเสียง ให้หน้าหนังตึง ตีได้เสียงกังวาน ก่อนตอกลิ่มใช้หวายต้นเล็ก ยัดภายในขอบกลองโดยรอบ หนุนให้หน้าหนังลอยตัวขึ้น รำมะนาชนิดนี้เดิมใช้ตีประกอบในการร้องเพลง “ บันตน " เข้าใจว่าได้แบบอย่างมาจากชวา เข้ามาแพร่หลายในรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมาภายหลังใช้ตีประกอบการเล่นลำตัด หรือลิเกลำตัด หรือลิเกรำมะนา ปัจจุบันรู้จักรำมะนาชนิดนี้ ในการเล่นลำตัด ซึ่งแพร่หลายอยู่ทางภาคกลาง วงหนึ่งจะมีหลายลูก ตีพร้อมกันบ้าง ตีขัดสอดสลับกันบ้าง นั่งล้อมวง ประกอบไปด้วย   ฉิ่ง ฉาบ (ย้อนกลับ)


กลองชนะรูปร่างเหมือนกลองแขกแต่สั้นกว่าหน้าหนึ่งใหญ่อีกหน้าหนึ่งเล็กใช้ตีด้วยไม้งอๆหรือหวายทางด้าน หน้าใหญ่ เดิมกลองชนะน่าจะใช้ใน กองทัพหรือในการสงคราม ต่อมาใช้ เป็นเครื่องประโคมใน ขบวนพยุหยาตรา และใช้ประโคมพระบรมศพเชื้อพระวงศ์ จำนวนกลองจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับยศ บรรดาศักดิ์ ของผู้เสียชีวิตจำนวนที่ใช้บรรเลงมีตั้งแต่๑คู่ขึ้นไป (ย้อนกลับ)


กลองโมงครุ่ม มีรูปร่างลักษณะเหมือนกลองทัดแต่ใหญ่กว่าขึ้นหนังสองหน้าตรึงด้วยหมุดตีหน้าเดียว โดยใช้ไม้ตีใช้ตีในการละเล่นสมัยโบราณ ที่เรียกว่า " โมงครุ่ม"หรือ"โหม่งครุ่ม" ซึ่งมักตีฆ้องโหม่งประกอบด้วย (ย้อนกลับ)


กลองต๊อก เป็นกลองจีนชนิดหนึ่ง มีขนาดเล็ก หุ่นกลองหนา ขึ้นหนังสองหน้า หน้าทั้งสองมีขนาดเท่ากัน ตีหน้าเดียวโดยใช้ไม้ขนาดเล็ก (ย้อนกลับ)



บัณเฑาะว์    เป็นกลองสองหน้าขนาดเล็ก ไทยคงได้เครื่องดนตรีชนิดนี้มาจากอินเดีย ตัวกลองทำด้วยไม้ขนาดเล็กพอมือถือ หัวและท้ายใหญ่ ตรงกลางคอด มีสายโยงเร่งเสียงใช้เชือกร้อยโยงห่าง ๆ มีสายรัดอกตรงคอดที่ตรงสายรัดอก มีหลักยาวอันหนึ่งรูปเหมือนหัวเม็ดทรงมัณฑ์ ทำด้วยไม้หรืองาที่ปลายหลักมีเชือกผูก ปลายเชือกอีกด้านหนึ่งผูกลูกตุ้ม ในการบรรเลงใช้มือไกวบัณเฑาะว์ คือพลิกข้อมือกลับไปกลับมา ให้ลูกตุ้มที่ปลายเชือกเหวี่ยงตัวไปกระทบที่หนังหน้ากลองทั้งสองด้าน บางครั้งใช้บัณเฑาะว์ลูกเดียว บางครั้งใช้สองลูก ไกวพร้อมกันทั้งสองมือ มือละลูก เป็นจังหวะในการบรรเลงประกอบขับไม้ในงานพระราชพิธี เช่น ขับกล่อมสมโภช พระมหาเศวตฉัตร สมโภชพระยาช้างเผือก และช้างสำคัญ เป็นต้ (ย้อนกลับ)




หน้า ๓