หน้า ๔



เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า
เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าจำแนก ได้ ๒ ประเภท
๑.ใช้ลมเป่าผ่านรูหักเหเสียงทำให้เกิดเสียง ( ไม่มีลิ้น)
ลักษณะโดยทั่วไปของเครื่องเป่าที่ ไม่มีลิ้นทำให้เกิดเสียงโดยการใช้ลมเป่าผ่านรูหักเหลม (รูปากนกแก้ว) ใช้ลมและนิ้วมือปิดรูเพื่อให้ได้เสียงสูงเสียงต่ำ ตามที่ต้องการเครื่องดนตรีประเภทเป่าชนิดนี้เรียกว่า ขลุ่ย
ขลุ่ย 
เป็นเครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้นทำด้วยไม้ลวกไม้ชิงชันมีลักษณะกลมเล็กยาวตัดด้านหนึ่งไว้ข้อด้านหน้าเจาะรู ๗ รูเรียงลำดับสำหรับ ปิดเปิดบังคับเสียงด้านหลังเจาะ๑รูเรียกว่า“รูนิ้วค้ำ” ด้านล่างเจาะอีก๒รูสำหรับร้อยเชือก เหนือรูปิดเปิด เจาะเป็นช่องเรียกว่า “รูปากนกแก้ว”สำหรับลมที่หักเหออกมาใช้ไม้สักอุดที่หัวไม้ลวกเกือบเต็ม บากเป็นช่องเล็กน้อยสำหรับเป่าเรียกว่า“ดากขลุ่ย” บากภายในให้เป็นที่หักเหของลมรองลงมาจากรูปากนกแก้ว เจาะอีกหนึ่งรูเรียกว่า“รูเยื้อ”เพื่อปิดด้วยเยื้อหัวหอมจะมีเสียงสั่นขึ้น เมื่อเรียบร้อยแล้วจะนำไปทำลวดลาย โดยการใช้ตะกั่วหลอมเหลมให้แดงแล้วนำมาลาดลงที่ผิวขลุ่ยสีดำจะขึ้นเป็นลายที่สวยงาม

ประเภทของขลุ่ย

 

๑. ขลุ่ยเพียงออ เป็นขลุ่ยหลักที่เกิดขึ้นก่อนขลุ่ยชนิดอื่นและใช้มาแต่สมัยโบราณมีความยาวประมาณ๔๕ ซ.ม. กว้าง๒.๕ ซ.ม. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของไม้ไผ่ ใช้ผสมในวงเครื่องสาย วงมโหรีและวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์      (ย้อนกลับ)  


 

ขลุ่ยหลีบ (ขลุ่ยหลีก)เป็นขลุ่ยขนาดเล็กที่สุด เกิดขึ้นในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ มีความยาว ประมาณ ๒๕ ซ.ม. กว้างประมาณ๒ซ.ม. มีเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ ๓ เสียง เป็นขลุ่ยชนิดเดียวที่เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องนำ ใช้ผสมในวงเครื่องสายเครื่องคู่ และวงมโหรี เครื่องใหญ (ย้อนกลับ) 


 

๓. ขลุ่ยอู้ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดใหญ่เกิดขึ้นสมัยรัชกาลที่ ๕ มีความยาวประมาณ ๖๐ ซ.ม. กว้าง ๔ ซ.ม. เสียงต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออ ๓ เสียง ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ (ย้อนกลับ)  




๔. ขลุ่ยรองออ เป็นขลุ่ยที่ที่มีขนาดใหญ่กว่าขลุ่ยเพียงออเล็กน้อย เสียงต่ำกว่าขลุ่ยเพียงออ ๑ เสียง ปัจจุบันขลุ่ยรองออไม่มีผู้ใช้แล้ว (ย้อนกลับ)  

๕. ขลุ่ยเคียงออ หรือ เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กกว่าขลุ่ยเพียงออเล็กน้อย ยาวประมาณ ๔๐ ซ.ม. กว้าง๒.๒ซ.ม.  มีระดับเสียงสูงกว่าขลุ่ยเพียงออ ๑ เสียง (ย้อนกลับ)  

ขลุ่ยกรวด เป็นขลุ่ยที่มีขนาดเล็กกว่าขลุ่ยเพียงออเล็กน้อย ยาวประมาณ ๔๐ ซ.ม. กว้าง ๒.๒ ซ.ม. มีระดับเท่ากับเสียงสากล (ย้อนกลับ)


๗. ขลุ่ยนก เป็นชุดของขลุ่ยที่ผลิตเพื่อเลียนเสียงนก ในการบรรเลงเพลง “ ตับนก” และเพลง “ ตับภุมรินทร์ ” มี ๔ ชนิดคือ


 

๗.๑ ขลุ่ยนกกางเขน ใช้เลียนเสียงนกกางเขน ไม่มีรูระบายระดับเสียงยาวประมาณ ๑๐ ซ.ม. กว้าง๓ ซ.ม. มีไม้ซางเสียบทะลุด้านข้างกระบอกเสียง เวลาเป่าต้องใส่น้ำลงในกระบอกให้ปลายหลอดส่วนล่างอยู่ในน้ำจึงจะเกิดเสียง (ย้อนกลับ) 


 

๗.๒ ขลุ่ยนกโพระดก ใช้เลียนเสียงนกโพระดก ไม่มีรูระบายระดับเสียง เป็นกระบอกไม้ยาว ๑๘ ซ.ม. กว้าง ๕ ซ.ม. เวลาเป่าใช้ฝ่ามืออีกข้างหนึ่งอุดปลายส่วนล่าง    ห่อมือเล็กน้อยเป่าได้เสียง “ โฮก” ในขณะเป่าต่อเนื่อง กันนั้น ถ้าเปิดฝ่ามือที่อุดด้านล่างอย่างรวดเร็ว จะได้เสียง “ โป๊ก” (ย้อนกลับ)    


 

๗.๓ ขลุ่ยนกกาเหว่า ใช้เลียนเสียงนกกาเหว่า มีลักษณะเหมือนขลุ่ยเพียงออทุกประการ แต่ตัดท่อนล่างทิ้งให้เหลือ รูระบายระดับเสียงไว้ ๓-๔รูเวลาเป่าปิดรูทั้งหมดรวมทั้งรูนิ้วค้ำด้วยจะได้เสียง“กา”จากนั้นเปิดรูทั้ง๕พร้อมกันอย่างรวดเร็ว จะได้เสียง“เหว่า” (ย้อนกลับ)


 

๗.๔ ขลุ่ยไก่ เป็นขลุ่ยที่ใช้เลียนเสียงไก่ ไม่มีรูระบายระดับเสียงยาวประมาณ ๑๓ ซ.ม. กว้าง ๓ ซ.ม. มีกำพวดปี่เสียบทะลุด้านข้างกระบอกเสียง   ความเป็นจริงควรเรียกว่า ปี่ไก่ แต่เนื่องจากอยู่ในชุดของขลุ่ยนกจึงเรียกว่า "ขลุ่ยไก่" (ย้อนกลับ)   





หน้า ๔