หน้า ๕


เครื่องดนตรีไทยภาคกลางประเภทเครื่องเป่า

๒ ประเภทใช้ลมเป่าผ่านลิ้นทำให้เกิดเสียง (มีลิ้น)

ปี่ คือ เครื่องเป่าที่มีลิ้นทำให้เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านลิ้นปี่ สามารถสืบค้นประวัติได้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย ถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ไทยได้คิดค้นขึ้นเอง ทำด้วยไม้ เช่นไม้ชิงชันหรือไม้พยุง กลึงให้เป็นรูปลักษณะ บานหัวบานท้าย ตรงกลางป่อง เจาะภายในให้กลวง ส่วนบน ของปี่มีรูเล็กๆ สำหรับปักลิ้นปี่ ส่วนบนของปี่ ใช้วัสดุประเภทพลาสติก เสริมขึ้นอีกราวข้างละครึ่ง ซ.ม. ส่วนหัวเรียก ทวนบน ส่วนท้ายเรียก ทวนล่าง ตอนกลางของปี่ เจาะรูนิ้วสำหรับเปลี่ยนเสียงลงมาจำนวน ๖ รู แต่สามารถเป่า ได้เสียง ๒๔ - ๓๒ เสียง รูตอนบนเจาะเรียงลงมา๔รู เว้นระยะห่างเล็กน้อยเจาะรูล่างอีก๒รู ตรงกลางของเลาปี่กลึงลายเป็นเกลียวคู่ ไว้เป็นจำนวน ๑๔ คู่ เพื่อความสวยงามและกันลื่น ลิ้นปี่ทำด้วยใบตาลซ้อนกัน ๔ ชั้นตัดให้เป็นรูปเล็บมือ แล้วนำไปผูกติดกับท่อกลมเล็กๆที่ เรียกว่า กำพวด เรียวยาว ประมาณ ๕ ซม.กำพวดนี้ทำด้วยโลหะ เช่น ทองเหลือง หรือเงิน วิธีผูกเชือกเพื่อ ให้ใบตาลติดกับกำพวดนั้น ใช้วิธีผูกที่เรียกว่า ผูกตะกรุดเบ็ด ส่วนปลายของกำพวดที่จะต้อง ปักที่ทวนบนของเลาปี่ จะต้องใช้เส้นด้ายพันกับยางเปลือกหมาก เพื่อปักรูทวนบนได้พอดี




 
๑.ปี่ใน ใช้ในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง(เทียบในรูปบนมีขนาดใหญ่)(ย้อนกลับ)


 

๒.ปี่นอก ใช้ในวงปี่พาทย์เครื่องคู่และปี่พาทย์เครื่องใหญ่ (เทียบในรูปบนมีขนาดเล็ก)(ย้อนกลับ)


 

๓.ปี่กลาง ใช้เป่าประกอบการแสดงหนังใหญ่ (เทียบในรูปบนมีขนาดกลาง)(ย้อนกลับ)


 

๔.ปี่มอญ ใช้ในวงปี่พาทย์มอญ (ย้อนกลับ)

๕.ปี่ชวา รูปทรงคล้ายกับปี่ไฉนแต่ขนาดใหญ่กว่า ใช้ในวงปี่พาทย์นางหงส์และปี่กลอง(เทียบในรูปมีขนาดใหญ่)(ย้อนกลับ)

 
 เสียงปี่ชวา
๖.ปี่ไฉน รูปทรงคล้ายกับปี่ชวาแต่เล็กกว่าใช้เป่าร่วมกับกลองชนะ (เทียบในรูปมีขนาดเล็ก)(ย้อนกลับ)







หน้า ๕